วันศุกร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

บทที่ 8 อวัยวะสำหรับการมองเห็นและการได้ยิน (EYE AND EAR)

อวัยวะสําหรับการมองเห็นและการได้ยิน   ได้แก่  ตาและหู   ตามลําดับ   ซึ่งอวัยวะทั้ง 2ชนิดนี้ไม่
จัดอยู่ในระบบต่าง ๆ ที่กล่าวมา    แต่จะอยู่ในกลุ่มของอวัยวะที่เกี่ยวกับการรับความรู้สึก 
ตา (EYE) เป็นอวัยวะที่ใช้ในการรับความรู้สึกโดยการมอง   ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ คือ
1.  ลูกนัยน์ตา (EYEBALL)  ลักษณะเป็นอวัยวะค่อนข้างกลมอยู่ในเบ้าตาทั้ง 2ข้าง  ประกอบด้วย
-ชั้นนอก  ส่วนใหญ่สีขาวขุ่น  มีหน้าที่ป้องกันลูกนัยน์ตายกเว้นบริเวณส่วนหน้าตรงกลาง
จะเป็นวงกลมโปร่งแสงสามารถมองผ่านเข้าไปด้านในได้   ส่วนนี้เรียกว่า  "ตาดํา"   หรือ  "กระจกตา" 
(CORNEA)
-ม่านตา  (IRIS)  ลักษณะเป็นแผ่นกล้ามเนื้อขาว ๆ อยู่ด้านในของกระจกตา  ม่านตาจะมีสี
แตกต่างกัน และตรงกลางของม่านตาจะมีรูม่านตา (PUPIL) ซึ่งขนาดของรูจะขยายใหญ่หรือแคบลงนั้น
ขึ้นอยู่กับการขยายหรือการหดตัวของม่านตาทําให้สามารถปรับปริมาณของแสงที่ผ่านเข้าไปในตาได้ให้
เหมาะสม
-เลนส์ตา  (LENS)เป็นอวัยวะที่ใช้ในการปรับภาพที่ผ่านเข้ามาเพื่อให้เห็นภาพนั้นได้
ชัดเจนทุกครั้ง
-กล้ามเนื้อเลนส์ตา  เป็นกล้ามเนื้อเล็ก ๆ ที่ยึดเลนส์ไว้  และจะยึดหรือหดตัวทุกครั้งเพื่อทํา
ให้เลนส์ตาสามารถปรับภาพที่เห็นได้ชัดเจนทุกครั้ง
-เรตินา  (RETINA)   เป็นส่วนที่อยู่ด้านหลังสุดของลูกนัยน์ตา   มีหน้าที่รับภาพที่ผ่านมา
จากเลนส์ตา   คล้ายกับจอรับภาพ   หากภาพตกบนเรติน่าพอเหมาะจะทําให้เห็นภาพชัดเจน  ด้านหลังของเรติน่าจะต่อกับเส้นประสาทที่เกี่ยวกับการมองเห็น   ทําให้เกิดความรู้สึกและส่งไปที่กลุ่มประสาทบริเวณศีรษะคู่ที่ 2 และต่อไปที่สมอง   ทําให้ทราบและรู้สึกในการมองเห็น
ตาประกอบด้วย ผนัง 3 ชั้น (Layer หรือ Tunics)
ก.ชั้นนอกสุด (Fibrous Layer) ซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วน
1)Sclera อยู่ทางส่วนท้ายของลูกตา
2)Cornea อยู่ทางส่วนหน้าของลูกตา
ข.ชั้นกลาง (Vascular Layerหรือเรียกว่าUveal Tract) ประกอบด้วย
1)Choroid เป็นส่วนที่มีเม็ดสี( Pigment)และ เส้นเลือดมาหล่อเลี้ยงมาก
2)Ciliary body
3)Iris
ค.ชั้นในสุด (Nervous Tunic) ประกอบด้วย
Retina มี 2 ส่วนคือ Blind portion และ Optic portion
ภายในลูกตายังแบ่งเป็น 2 ส่วน( Compartments)
ก.Anterior Compartment แบ่งได้ 2 ช่อง คือ
1)Anterior Chamber ซึ่งอยู่ระหว่าง Irisและ Cornea
2)Posterior Chamberซึ่งอยู่ระหว่าง Irisและ Lens
ทั้งสองช่องนี้ประกอบด้วยAqueous humor
ข. Posterior  Compartment เป็นส่วนที่อยู่ด้านหลังของLens ประกอบด้วย Vitreous
body
2.  กล้ามเนื้อลูกนัยน์ตา  เป็นกลุ่มของกล้ามเนื้อที่ยึดติดกับลูกนัยน์ตาทั้งด้านข้าง ข้าง  ด้านบนและ
ด้านล่าง   ทําหน้าที่บังคับให้ลูกนัยน์ตามองไปทางซ้าย-ขวา   หรือมองขึ้น -ลง  ก็ได้
3.  เยื่อหุ้มตา  (CONJUNCTIVA)  เป็นเยื่อบุสีชมพูอ่อน ๆ อยู่ที่ใต้หนังตาบนและหนังตาล่าง
4.  หนังตา  (EYELID)  ประกอบด้วยหนังตาบนและหนังตาล่าง   ทําหน้าที่ป้องกันลูกนัยน์ตา
หู  (EAR) เป็นอวัยวะที่ใช้ในการรับความรู้สึกโดยการได้ยินแบ่งออกได้เป็น 3ชิ้น คือ
1.  หูชั้นนอก   ประกอบด้วย  ใบหู  รูหู  และแก้วหู
-ใบหู  (EAR  PINNA)  ลักษณะเป็นแผ่นบาง ๆ ภายในเป็นกระดูกอ่อน   ทําหน้าที่ในการ
รับคลื่นเสียงจากภายนอก
-รูหู  (EAR    CANAL)   ลักษณะเป็นช่องต่อจากใบหูเข้าไปภายใน  เป็นทางผ่านของคลื่น
เสียงที่ได้รับ
-แก้วหู  (TYMPANIC  MEMBRANE)  ลักษณะเป็นเยื่อขาว ๆ ปิดกั้นที่บริเวณส่วนปลายของรู
หู    ทําหน้าที่รับคลื่นเสียงที่เข้ามาทําให้แก้วหูลั่น     แล้วส่งสัญญาณเสียงต่อเข้าไปที่หูชั้นกลาง
2.  หูชั้นกลางเป็นส่วนที่ต่อมาจากหูชั้นนอก   โดยมีแก้วหูเป็นตัวกั้น ประกอบด้วยกระดูกเล็ก ๆ 3
ชิ้น  คือ
-กระดูกฆ้อน (MALLEUS)    เป็นกระดูกรูปคล้ายฆ้อนอยู่ติดกับแก้วหู  มีหน้าที่รับ
สัญญาณเสียงจากการสั่นของแก้วหู
-กระดูกทั่ง (INCUS)    เป็นกระดูกที่อยู่ต่อจากกระดูกฆ้อนเข้าไป   มีหน้าที่รับ
สัญญาณเสียงจากกระดูกฆ้อน
-กระดูกโกลน (STAPES)    เป็นกระดูกชิ้นที่อยู่ต่อจากกระดูกทั่ง   มีหน้าที่รับ
สัญญาณเสียงจากกระดูกทั่ง    แล้วส่งต่อไปยังหูชั้นใน
3.  หูชั้นใน   เป็นส่วนที่ต่อมาจากหูชั้นกลาง  ประกอบด้วยอวัยวะ 2ชนิด  คือ
-อวัยวะสําหรับรับสัญญาณเสียง (COCHLEA)    ลักษณะเป็นรูปหอยโข่ง  ภายในมี
ของเหลวเมื่อสัญญาณเสียงที่ส่งมาจากการสั่นของกระดูกโกลน   จะทําให้ของเหลวในอวัยวะนี้เกิดการ
สั่นสะเทือนตาม   ซึ่งจะกลายเป็นสัญญาณเข้าสู่เส้นประสาทที่เกี่ยวกับการได้ยินซึ่งอยู่ติดกับอวัยวะนี้   แล้วจึงส่งต่อไปยังสมองทําให้ทราบว่าเสียงที่ได้ยินนั้นเป็นเสียงของอะไร
-อวัยวะสําหรับการทรงตัวของร่างกาย (SEMICIRCULAR    CANAL)     ลักษณะเป็นท่อวง
แหวนรวม 3วง  ทําหน้าที่ในการรักษาความสมดุลย์ของร่างกาย

บทที่ 7 ระบบกระดูกโครงร่างของสัตว์( Skeletal system )

โครงกระดูก คือโครงสร้างส่วนแข็งซึ่งใช้พยุงและป้องกันเนื้อเยื่ออ่อนของร่างกายสัตว์ ประกอบด้วย
กระดูก (Bone) กระดูกอ่อน (Cartilage)  และเอ็น (Tendon) ยึดอยู่เกิดเป็นโครงร่างของสัตว์แต่ละชนิด ดังนั้นสัตว์แต่ละชนิดจึงมีโครงสร้างที่ประกอบด้วยกระดูกมากมาย เป็นกระดูกที่ยังมีชีวิต มีเส้นโลหิต(Blood vessels) เส้นน้ําเหลือง (   Lymph   vessels) และเส้นประสาท (Nerves) มาหล่อเลี้ยง มีการเจริญเติบโตได้  สามารถเป็นโรคต่างๆขึ้นได้  เมื่อกระดูกหักก็รักษาให้หายเองได้ และปรับตัวให้เปลี่ยนแปลงได้ตามแรงกดดัน กระดูกเมื่อไม่ค่อยได้ใช้ ก็อาจจะบาง หรืออ่อนแอได้ กระดูกอาจจะเพิ่มขนาดมากขึ้นเพื่อรองรับส่วนที่มีน้ําหนักเพิ่ม กระดูกเป็นโครงร่างของอินทรีย์วัตถุของเนื้อเยื่อเหนียว
(Fibrous  tissue)และเซลล์ส่วนเกลืออนินทรีย์ที่ประกอบเป็นกระดูก จะทําให้กระดูกมีลักษณะแข็งและทึบต่อแสง X-rays

ศัพท์เฉพาะที่ใช้กับกระดูก
1.Compact  bone เป็นเนื้อกระดูกที่ละเอียด แน่นทึบ เป็นชั้นนอกที่หนา และแข็งของส่วนลําตัวของ
กระดูกยาว
2.Cancellous  bone เป็นเนื้อกระดูกโปร่ง ลักษณะเบา มีรูพรุน ไม่แน่น อยู่ระหว่างเนื้อกระดูกแข็ง
ช่องว่างระหว่างเนื้อกระดูกจะโปร่ง มีไขกระดูกแทรกอยู่
3.Marrow   cavity เป็นช่องว่างภายในลําตัวของกระดูกยาว เป็นที่บรรจุของไขกระดูก ในสัตว์อายุ
น้อย มักเป็นไขกระดูกแดง(Red marrow)ซึ่งเป็นตัวสร้างเม็ดโลหิต จะมีอยู่ในกระดูกอก(Sternum)ตลอดชีวิตสัตว์ แล้วต่อมาจะเปลี่ยนเป็นไขกระดูกเหลือง(Yellow marrow) ทําหน้าที่ผลิตเนื้อเยื่อไขมัน (Adipose tissue)เมื่ออายุมากขึ้น
4.Epiphysis เป็นส่วนปลายของกระดูกยาว ปลายบนเรียกว่า Proximal  extremity ปลายล่างเรียกว่า
Distal extremity
5.Diaphysis เป็นลําตัวของกระดูกยาวรูปทรงกระบอก อยู่ระหว่าง Epiphysis
6.Epiphyseal cartilage เป็นชื่อของกระดูกอ่อนใส(Hyaline cartilage)ซึ่งแยกออกจากEpiphysisของ
กระดูกที่เจริญไม่เต็มที่ เป็นบริเวณที่กระดูกจะเพิ่มความยาวได้

ลักษณะของกระดูก
กระดูกแบ่งตามรูปร่างและหน้าที่ ออกได้ 4 ชนิด คือ
1.กระดูกยาว(Long  bones) มีลักษณะเฉพาะ คือ มีลําตัวรูปทรงกระบอก มีปลายทั้ง 2 ข้างและมี
ช่องว่างภายในลําตัวกระดูกเรียกว่าช่องเมดูล่า(Medullary     cavity) ซึ่งเป็นที่บรรจุของไขกระดูก (Bone marrow)   เป็นอวัยวะสร้างเม็ดเลือดแดงอยู่ภายในกระดูก  ยกเว้นกระดูกซี่โครง(Ribs) และกระดูกUlnaและFibula ของม้า ซึ่งเรียกว่า Reduced long bone 
กระดูกยาวทําหน้าที่เหมือนคาน ช่วยในการพยุงลําตัว ช่วยให้เกิดความเคลื่อนไหวและการจับ
ต้อง เราพบกระดูกยาวได้ที่อวัยวะส่วนปลายดังนี้
ขาหน้า ได้แก่ Humerus , Radius ,Ulna และ Metacarpus
ขาหลัง ได้แก่ Femur , Tibia , Fibula  และ Metatarsus
2.กระดูกสั้น(Short   bones) ได้แก่กระดูกที่รูปร่างคล้ายลูกเต๋า มีหน้าที่ช่วยลดการเสียดสีหรือการ
เปลี่ยนทิศทางของเอ็น(Tendon) หรือเพิ่มระดับความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและเอ็น กระดูกสั้นนี้ได้แก่
กระดูกCarpus , Tarsus และ Sesamoid bones
3.กระดูกแบน(Flat  bone) ได้แก่กระดูกที่แผ่ออกได้เป็น 2ระนาบ กระดูกชนิดนี้มีพื้นที่มากสําหรับ
เป็นที่เกาะยึดของกล้ามเนื้อ ได้แก่กระดูก Scapula ,กระดูกที่หน้าและหน้าผากของกระโหลก
4.กระดูกรูปร่างไม่สม่ําเสมอ(Irregular   bone)หมายถึงกระดูกที่มีรูปร่างไม่สม่ําเสมอ จะมีส่วนที่ยื่น
ออกไปเป็นปุ่ม(Process)เป็นกระดูกที่อยู่ตรงกลางและเป็นกระดูกเดี่ยวได้แก่ กระดูกสันหลัง (Vertebrae) และกระดูกที่ฐานของกระดูกหน้าผาก (Cranium)

หน้าที่ของกระดูก กระดูกเป็นโครงร่างของร่างกายสัตว์ มีหน้าที่ดังนี้
1.กระดูกทําหน้าที่ปกป้องให้กับอวัยวะอ่อนภายในของร่างกาย มิให้ได้รับอันตรายเช่นกระโหลก
ศรีษะปกป้องสมองซึ่งเป็นศูนย์กลางของระบบประสาท  กระดูกสันหลังปกป้องไขสันหลัง(Spinal   cord) กระดูกซี่โครงปกป้องปอดกับหัวใจ และกระดูกเชิงกราน ป้องกันอวัยวะขับถ่ายปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์
2.กระดูกเป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อทําให้กล้ามเนื้อแข็งแรงและทําให้ร่างกายเป็นรูปร่าง ,คงรูปไว้
3.กระดูกทําหน้าที่เป็นคาน ซึ่งมีผลให้เกิดการเคลื่อนไหวต่างๆ และการหายใจ
4.กระดูกทําหน้าที่สะสมแร่ธาตุ โดยเฉพาะธาตุแคลเซี่ยม(Ca)และฟอสฟอรัส(P)ให้แก่ร่างกาย
5.กระดูกเป็นอวัยวะที่มีการสร้างเซลล์โลหิต(  Hemopoietic  organ) โดยไขกระดูก(Bone  marrow)ที่
อยู่ภายใน กระดูก คือสร้างเม็ดโลหิตแดง(Red  blood  cell), ฮีโมโกลบิน(Hemoglobin),เม็ดโลหิตขาว (Glomerular white cells)และเกร็ดเลือด( Platelets)
โครงกระดูก(Skeleton)โครงกระดูกของร่างกายสัตว์ แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ
1.โครงกระดูกส่วนแกน(Axial             skeleton)ประกอบด้วยกระดูกที่เป็นแกนกลางของลําตัวได้แก่
กระโหลกศรีษะ(Skull) กระดูกสันหลัง(Vertebral   column   ),กระดูกซี่โครง(Ribs) และกระดูกทรวงอก(Sternum)
2.โครงกระดูกส่วนยันและพยุง (Appendicular   skeleton) จะยึดเกาะอยู่กับโครงกระดูกส่วนแกน
สองแห่งด้วยกันคือที่ส่วนไหล่(Pectoral girdle) กับส่วนเชิงกราน (Pelvic girdle) เช่นกระดูกแขนหรือขาหน้า(Pectoral  limbs) ทําหน้าที่ยันหรือพยุงลําตัว และกระดูกขาหรือขาหลัง(Pelvic  limbs) ทําหน้าที่ช่วยดันหรือผลักตัวให้ไปข้างหน้า
3.กระดูกที่พบในอวัยวะภายใน(Splanchnic หรือVisceral   skeleton)หมายถึงกระดูกที่เจริญอยู่ใน
บางส่วนของอวัยวะภายในหรืออวัยวะที่อ่อนนุ่ม พบในสัตว์บางชนิด เช่น Os  penis ในสุนัข และOs  cardis ในโคและแกะ เป็นต้น

โครงกระดูกของม้าประกอบด้วยกระดูก 205 ชิ้นดังนี้
กระดูกสันหลัง (Vertebral column)        54 ชิ้น (C7T18L6S5Cy18)
กระดูกซี่โครง (Ribs)                           36 ชิ้น
กระดูกอก (Sternum)                            1 ชิ้น
กระโหลก (Skull รวมกระดูกหูด้วย)          34 ชิ้น
กระดูกขาหน้า (Thoracic limbs)             40 ชิ้น
กระดูกขาหลัง(Pelvic limbs)                  40 ชิ้น



โครงกระดูกของสุนัขประกอบด้วยกระดูก 319ชิ้นดังนี้
กระดูกสันหลัง (Vertebral column)            50 ชิ้น(C7T13L7S3Cy20)
กระโหลก (Skull รวมกระดูกหูด้วย)              50 ชิ้น
กระดูกซี่โครงและอก(Ribs and sternum)    34 ชิ้น
กระดูกขาหน้า (Thoracic limbs)                92 ชิ้น
กระดูกขาหลัง(Pelvic limbs)                     92 ชิ้น
กระดูก Os penis                                      1 ชิ้น

1.โครงกระดูกส่วนแกน(Axial skeleton)
1.1กระโหลกศีรษะ(The skull)กระโหลกศีรษะคือ   กระดูกที่ห่อหุ้มสมอง      เพื่อป้องกันการถูกกระแทกประกอบด้วยส่วนที่เป็นศีรษะ  (CRANIAL  PORTION)  กับส่วนที่เป็นใบหน้า (FACIAL PORTION)เมื่อเอากระดูก Mandible และHyoid ออก กระโหลกศรีษะของม้าจะประกอบด้วย 4ส่วนคือ
1.Dorsal หรือ Frontal  surfaces ประกอบด้วยกระดูก Occipital,  Interparietal  ,  Parietal  ,  Frontal  , Nasal และ Incisive bones
2.Lateral surfacesด้านซ้ายและด้านขวา ซึ่งแบ่งออกเป็น 3ส่วนคือ Cranial , Orbital และ Maxillary
regions
3.Ventral หรือ Basal surface ไม่รวม Mandible เข้าด้วย ก็จะแบ่งเป็น 3ส่วนคือ Cranial , Choanal
และPalatine region
ช่องว่างในกระโหลกศรีษะ(Cavity of the skull)แบ่งเป็น 2ส่วน คือ Cranial และ Nasal cavity
1.Cranial  cavity จะหุ้ม สมอง(Brain) เยื่อหุ้มสมอง(Membranes)และเส้นเลือด(Vessels) มีลักษณะ
เป็นรูปไข่
2.Nasal  cavity เป็นช่องผ่านยาว(Longitudinal passage)ซึ่งมีขอบเขตตลอดส่วนบนของบริเวณหน้า
แบ่งเป็น 2ส่วน เท่ากัน ทางซ้าย และขวาด้วย  ผนังกลางช่องจมูก(Median nasal septum)
1.2 กระดูกสันหลัง(Vertebral  column) คือ กระดูกที่เป็นแกนกลางของลําตัว ประกอบขึ้นด้วยชุด
กระดูกสันหลัง(Vertebrae)ต่อเนื่องกันเป็นลูกโซ่ตรงกลาง เป็นIrregular    bone และเป็นกระดูกเดี่ยว มีขอบเขตจากกระโหลกศีรษะไปสิ้นสุดที่หาง ในสัตว์ที่โตเต็มที่ กระดูกสันหลังจะต่อเนื่องกันเป็นแถว
แบ่งย่อยออกได้เป็น 5 ส่วน ตามส่วนของร่างกายเริ่มจาก ส่วนคอ(Cervical   vertebrae), ส่วนอก
(Thoracic   vertebrae), ส่วนเอว(Lumbar   vertebrae), ส่วนสะโพก (Sacral   vertebrae หรือ Fixed
vertebrae)ซึ่งจะรวมกันเป็นชิ้นเดียว เชื่อมติดกับกระดูกเชิงกราน(Pelvic  girdle)และส่วนหาง(Caudal หรือ
coccygeal vertebrae)
จํานวนกระดูกสันหลังในสัตว์แต่ละชนิดจะมีจํานวนคงที่แน่นอน ยกเว้นส่วนหาง และสามารถกําหนด
เป็นสูตรกระดูกสันหลังของสัตว์ได้
หมายเหตุ
C = Cervical vertebrae
T = Thoracic vertebrae
L = Lumbar vertebrae
S =Sacral vertebrae
Cy = Coccygeal vertebrae

Atlasคือกระดูกสันหลังส่วนคออันที่หนึ่ง(First cervical vertebrae) ทําหน้าที่รับหัวกระโหลก
Axisคือกระดูกสันหลังอันที่ 2  (Second  cervical  vertebrae) ทําหน้าที่หมุนรอบกระดูกAtlas เป็น
กระดูกสันหลังชิ้นที่ยาวที่สุด
1.3 กระดูกซี่โครง (Ribs) เป็นกระดูกแบน  เล็กและยาว  ประกอบด้วย 2ส่วน คือส่วนที่เป็นกระดูก
แข็งซึ่งเกาะติดกับกระดูกสันหลังบริเวณอก(Thoracic Vertebrae) ทั้งสองด้านกับส่วนที่เป็นกระดูกอ่อน  ซึ่ง
เกาะติดกับกระดูกอก(Sternum) ดังนั้น  สุนัขจะมีกระดูกซี่โครงรวม 13คู่  หรือ 26อัน  ทําหน้าที่ป้องกัน
อวัยวะในช่องอก
1.4กระดูกอก(Sternum) มีลักษณะเป็นแผ่นอยู่ตรงกลางลําตัวบริเวณช่องอกเป็นที่ยึดเกาะของกระดูก
ซี่โครง(ส่วนที่เป็นกระดูกอ่อน) ทั้งสองด้าน
2.กระดูกระยางค์(Appendicular skeleton)  ได้แก่กระดูกขาหน้า  และกระดูกขาหลัง
2.1 กระดูกขาหน้า(Bone of the Thoracic limb)
กระดูกขาหน้าของม้าแบ่งเป็น 4ส่วน เช่นเดียวกับสัตว์ชนิดอื่นๆ คือ
2.1.1Thoracic   girdle ประกอบด้วยกระดูกไหล่ (Scapular) เป็นกระดูกรูปแบน(Flat
bone)ตั้งอยู่บนส่วนหน้าของผนังด้านข้างของอก(Thorax) โดยแกนยาวของกระดูกไหล่(Long     axis) วางตัวเฉียงจากThoracic  spine อันที่ 4ถึง ปลายด้านล่างของกระดูกซี่โครงอันแรก กระดูกโค้งเล็กน้อยและเอนลาดทางด้านข้าง เข้าได้รูปพอดีกับผนังอก(Thoracic wall) กระดูกไหล่มีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม
2.1.2 กระดูกต้นแขน ได้แก่ Humerus เป็นกระดูกยาว(long   bone) มีขอบเขตจากข้อไหล่
(Shoulder  Joint) ทางด้านบน ซึ่งต่อกับกระดูกไหล่(Scapular) และข้อศอก(Elbow  joint)ด้านล่างซึ่งต่อกับกระดูกแขน(Radius และ Ulna)ตามลําดับ ทิศทางของกระดูกต้นแขนจะเฉียงๆลงมาทางด้านล่างและไปทางหลัง ประกอบเป็นมุม 55องศากับแนวระดับ(Horizontal plane)
2.1.3กระดูกแขนได้แก่ Radius และ Ulna
Radiusของม้าเป็นกระดูกใหญ่กว่าUlna มาก มีทิศทางตั้งตรงจากข้อศอกลงมา อยู่ระหว่างกระดูก
Humerus ทางบน และCarpusทางล่าง มีลักษณะโค้งเล็กน้อย เว้าทางด้านหน้า
ส่วนกระดูกUlnaของม้าเป็นกระดูกยาวที่บาง อยู่ทางด้านหลังของกระดูก Radius จะเชื่อมต่อกับกระดูก
Radius เมื่อสัตว์โตเต็มที่แล้ว
2.1.4กระดูกมือ ได้แก่ Carpus , Metacarpus และ Digits (Phalanges และ Sesamoids)
2.2 กระดูกขาหลัง(Bone of hindlimbs)
2.2.1กระดูกต้นขา( Femur) และกระดูกสะบ้า (Patella)
2.2.2 กระดูกขา(Tibia และ Fibula)
2.2.3กระดูกเท้าได้แก่ กระดูกข้อเท้า(Tarsal bone) ,กระดูกฝ่าเท้า(Metatarsal bones) และ
กระดูกนิ้วเท้า (Phalanges และ Sesamoids)
ระบบข้อต่อ(Articular system)
ข้อต่อเกิดจากกระดูกตั้งแต่ 2ชิ้นขึ้นไป ติดต่อกัน  ทําให้กระดูกมีการเคลื่อนไหวแตกต่างกันเช่น
ข้อต่อที่เคลื่อนที่ไม่ได้เลย   เรียกว่า Synarthrosesได้แก่ กระดูกกระโหลกศรีษะ
ข้อต่อที่เคลื่อนที่ได้เล็กน้อย เรียกว่า Amphiarthoses ได้แก่ กระดูกสันหลัง
ข้อต่อที่เคลื่อนที่ได้คล่องตัวมาก เรียกว่า Diarthoses เป็นข้อต่อที่แท้จริง(Movable หรือ True  joint)
ของร่างกายและเป็นส่วนสําคัญที่ทําให้เกิดการเคลื่อนไหวขึ้น ข้อต่อชนิดนี้ประกอบด้วยลักษณะที่สําคัญดังนี้
1.ผิวหน้ากระดูกติดต่อ
2.กระดูกอ่อนติดต่อ
3.เยื่อหุ้มข้อต่อ
4.เยื่อขึง
เยื่อหุ้มข้อต่อ(Joint capsule)มีลักษณะเป็นเยื่อ 2ชั้น คือ
1.  Fibrous  layer อยู่ชั้นนอก เป็นเนื้อเยื่อใยเหนียว เยื่อชั้นนี้ทําหน้าที่ยึดกระดูกชิ้นต่อไปไว้ และยัง
ช่วยให้ข้อต่ออยู่กับที่ด้วย
2.  Synovial  layer อยู่ชั้นใน เป็นเยื่อบางๆ มีเส้นประสาทและเส้นโลหิตมาหล่อเลี้ยงมาก
และยังผลิตของเหลวออกมาหล่อลื่นข้อต่อ เรียกว่า Synovial fluid
เยื่อขึงเป็นแผ่นเยื่อใยสีขาวเหนียว ซึ่งยึดกระดูกไว้ด้วยกัน
การแบ่งข้อต่อตามการเคลื่อนไหว
1.การงอ(Flexion) คือการทําให้มุมของกระดูกที่มาอยู่ต่อกัน แคบเข้า
2.การเหยียด(Extension) คือการเคลื่อนไหวตรงการข้ามกับการงอ หรือการเพิ่มมุมของกระดูก ที่มา
อยู่ต่อกันให้กว้างขึ้น
3.การดึงเข้าใน(Adduction)คือการที่ส่วนปลายเคลื่อนเข้าหาด้านใน
4.การถ่างออก หรือการหันออกด้านนอก คือการที่ส่วนปลาย เคลื่อนห่างออกจากด้านใน
5.การหมุน หมายถึงการที่กระดูกส่วนหนึ่งจะเคลื่อนไหวได้หลายมุม หลายแบบ โดยตัวเองเป็นแกน
อยู่ เช่น ศรีษะ ซึ่งเอี้ยวซ้าย เอี้ยวขวา เอียงหรือส่าย เหล่านี้จัดว่าเป็นการหมุนทั้งนั้น
ข้อต่อที่ส าคัญในร่างกายสุนัข
1.ข้อต่อบริเวณกระโหลกศีรษะได้แก่ ข้อต่อขากรรไกร (กะโหลกศีรษะกับขากรรไกรล่าง) และ
ข้อต่อท้ายทอย (กระโหลกศีรษะกับกระดูกคอ)
2.   ข้อต่อของขาหน้า
2.1ข้อไหล่(Shoulder joint) อยู่ระหว่างกระดูกไหล่กับกระดูกต้นแขน
2.2 ข้อศอก(Elbow  joint) อยู่ระหว่างกระดูกต้นแขน(Humerus) กับกระดูกแขน(Radius )และ
Ulna
2.3ข้อขาหน้า หรือข้อเข่า(Carpal joint)อยู่ระหว่างกระดูกแขนกับกระดูกข้อมือ
2.4ข้อตาตุ่ม(Fetlock joint) อยู่ระหว่างกระดูกMetacarpal และกระดูกนิ้วที่ 1 (First phalange)
2.5ข้อจําตรวน(Pastern joint) อยู่ระหว่างกระดูกนิ้วที่1และที่2
2.6ข้อปลายนิ้ว (coffin joint) อยู่ระหว่างกระดูกนิ้วที่ 2และที่3
3.  ข้อต่อของขาหลัง
3.1ข้อสะโพก(Hip joint) อยู่ระหว่างกระดูกเชิงกรานกับกระดูกFemur
3.2ข้อเข่า(Stifle joint)อยู่ระหว่างกระดูก Femur กับกระดูกTibiaและFibula
3.3 ข้อน่องแหลม( Hock joint)อยู่ระหว่างกระดูกTibiaและFibula กับกระดูก Tarsal bones
3.4ข้อตาตุ่ม(Fetlock joint)
3.5ข้อจําตรวน(Pastern joint)
3.6ข้อปลายนิ้ว(Coffin joint)

บทที่ 6 ระบบเครื่องห่อหุ้มร่างกาย ( INTEGUMENTARY SYSTEM )

ระบบเครื่องห่อหุ้มร่างกาย   เป็นระบบการทํางานระบบหนึ่งของร่างกาย   ซึ่งได้แก่ระบบที่ทําหน้าที่
ปกคลุมภายนอกร่างกาย   โดยมีอวัยวะที่สําคัญคือ  ผิวหนัง  (Skin)
การแบ่งชั้นของผิวหนัง
ผิวหนังแบ่งออกได้เป็น  2 ชั้น   คือ
1.  ผิวหนังชั้นนอก (Epidermis )   
เป็นผิวหนังในส่วนที่ตายแล้ว       ไม่มีโลหิตมาเลี้ยงผิวหนัง
ชั้นนี้จะหลุดลอกออกเป็นขี้ไคล
2.  ผิวหนังชั้นใน (Dermis)  เป็นชั้นของผิวหนังที่มีโลหิตมาเลี้ยง   ซึ่งในผิวหนังชั้นนี้จะมีอวัยวะ
ต่าง ๆ รวมอยู่ด้วยคือ
    1.ปลายเส้นเลือดฝอย
    2.ปลายเส้นประสาท   ทําหน้าที่ในการรับความรู้สึก
    3.ขุมขน  ทําหน้าที่สร้างขนปกคลุมร่างกาย
    4.ต่อมไขมัน    ทําหน้าที่สร้างน้ํามันเพื่อหล่อเลี้ยงผิวหนังทําให้ผิวหนังอ่อน
นุ่มไม่แห้งกร้าน   และยังป้องกันไม่ให้น้ําในร่างกายระเหยออกมากเกินไป
    5. ต่อมเหงื่อ    ทําหน้าที่ขับเหงื่อออกจากร่างกายซึ่งช่วยในการระบายความร้อนและขับ
ของเสียที่เป็นของเหลวออกจากร่างกาย     สําหรับสุนัขจะไม่มีต่อมเหงื่อที่ผิวหนัง

ส่วนประกอบอื่น ๆ ของผิวหนัง
1. ขน   เป็นส่วนที่ช่วยปกคลุมเกือบทั่วร่างกายซึ่งสัตว์แต่ละชนิดจะมีลักษณะของขนที่แตกต่างกัน  
ขนสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด  คือ  ขนชนิดที่ขึ้นปกคลุมบริเวณต่าง ๆ ทั่วร่างกายกับขนชนิดที่มีอยู่เฉพาะแห่ง  เช่น  คิ้ว   หนวด  และอวัยวะเพศ  เป็นต้น
ขนของสุนัขพันธุ์เยอรมัน  เซ็พเพอด  มี 2ชั้น  คือ
    -ชั้นนอก   ลักษณะเป็นขนค่อนข้างแข็ง   เส้นตรง  และมีความยาวปานกลาง
    -ชั้นใน      ขนจะมีลักษณะสัน    ค่อนข้างนุ่มและหนา
2. เล็บอุ้งเท้า    คือ   ส่วนที่เปลี่ยนแปลงมาจากผิวหนังชั้นนอก   เมื่อเล็บถูกทําลาย   จะสามารถ
สร้างเล็บใหม่ได้อีก
3. นิ้วติ่ง    คือ   นิ้วที่ประกอบด้วยเล็บ   เช่นเดียวกับเล็บอื่น ๆ  นิ้วติ่งขาหน้าจะมีกระดูกแต่นิ้วติ่ง
ขาหลังไม่มีกระดูก

หน้าที่ของผิวหนัง
1. ปกคลุมร่างกาย
2. รับความรู้สึกจากภายนอกร่างกาย
3. รักษาระดับอุณหภูมิของร่างกาย
4. ขับของเสียที่เป็นของเหลวออกจากร่างกายทางเหงื่อ
5. ดูดซึมสารบางชนิด