วันศุกร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

บทที่ 8 อวัยวะสำหรับการมองเห็นและการได้ยิน (EYE AND EAR)

อวัยวะสําหรับการมองเห็นและการได้ยิน   ได้แก่  ตาและหู   ตามลําดับ   ซึ่งอวัยวะทั้ง 2ชนิดนี้ไม่
จัดอยู่ในระบบต่าง ๆ ที่กล่าวมา    แต่จะอยู่ในกลุ่มของอวัยวะที่เกี่ยวกับการรับความรู้สึก 
ตา (EYE) เป็นอวัยวะที่ใช้ในการรับความรู้สึกโดยการมอง   ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ คือ
1.  ลูกนัยน์ตา (EYEBALL)  ลักษณะเป็นอวัยวะค่อนข้างกลมอยู่ในเบ้าตาทั้ง 2ข้าง  ประกอบด้วย
-ชั้นนอก  ส่วนใหญ่สีขาวขุ่น  มีหน้าที่ป้องกันลูกนัยน์ตายกเว้นบริเวณส่วนหน้าตรงกลาง
จะเป็นวงกลมโปร่งแสงสามารถมองผ่านเข้าไปด้านในได้   ส่วนนี้เรียกว่า  "ตาดํา"   หรือ  "กระจกตา" 
(CORNEA)
-ม่านตา  (IRIS)  ลักษณะเป็นแผ่นกล้ามเนื้อขาว ๆ อยู่ด้านในของกระจกตา  ม่านตาจะมีสี
แตกต่างกัน และตรงกลางของม่านตาจะมีรูม่านตา (PUPIL) ซึ่งขนาดของรูจะขยายใหญ่หรือแคบลงนั้น
ขึ้นอยู่กับการขยายหรือการหดตัวของม่านตาทําให้สามารถปรับปริมาณของแสงที่ผ่านเข้าไปในตาได้ให้
เหมาะสม
-เลนส์ตา  (LENS)เป็นอวัยวะที่ใช้ในการปรับภาพที่ผ่านเข้ามาเพื่อให้เห็นภาพนั้นได้
ชัดเจนทุกครั้ง
-กล้ามเนื้อเลนส์ตา  เป็นกล้ามเนื้อเล็ก ๆ ที่ยึดเลนส์ไว้  และจะยึดหรือหดตัวทุกครั้งเพื่อทํา
ให้เลนส์ตาสามารถปรับภาพที่เห็นได้ชัดเจนทุกครั้ง
-เรตินา  (RETINA)   เป็นส่วนที่อยู่ด้านหลังสุดของลูกนัยน์ตา   มีหน้าที่รับภาพที่ผ่านมา
จากเลนส์ตา   คล้ายกับจอรับภาพ   หากภาพตกบนเรติน่าพอเหมาะจะทําให้เห็นภาพชัดเจน  ด้านหลังของเรติน่าจะต่อกับเส้นประสาทที่เกี่ยวกับการมองเห็น   ทําให้เกิดความรู้สึกและส่งไปที่กลุ่มประสาทบริเวณศีรษะคู่ที่ 2 และต่อไปที่สมอง   ทําให้ทราบและรู้สึกในการมองเห็น
ตาประกอบด้วย ผนัง 3 ชั้น (Layer หรือ Tunics)
ก.ชั้นนอกสุด (Fibrous Layer) ซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วน
1)Sclera อยู่ทางส่วนท้ายของลูกตา
2)Cornea อยู่ทางส่วนหน้าของลูกตา
ข.ชั้นกลาง (Vascular Layerหรือเรียกว่าUveal Tract) ประกอบด้วย
1)Choroid เป็นส่วนที่มีเม็ดสี( Pigment)และ เส้นเลือดมาหล่อเลี้ยงมาก
2)Ciliary body
3)Iris
ค.ชั้นในสุด (Nervous Tunic) ประกอบด้วย
Retina มี 2 ส่วนคือ Blind portion และ Optic portion
ภายในลูกตายังแบ่งเป็น 2 ส่วน( Compartments)
ก.Anterior Compartment แบ่งได้ 2 ช่อง คือ
1)Anterior Chamber ซึ่งอยู่ระหว่าง Irisและ Cornea
2)Posterior Chamberซึ่งอยู่ระหว่าง Irisและ Lens
ทั้งสองช่องนี้ประกอบด้วยAqueous humor
ข. Posterior  Compartment เป็นส่วนที่อยู่ด้านหลังของLens ประกอบด้วย Vitreous
body
2.  กล้ามเนื้อลูกนัยน์ตา  เป็นกลุ่มของกล้ามเนื้อที่ยึดติดกับลูกนัยน์ตาทั้งด้านข้าง ข้าง  ด้านบนและ
ด้านล่าง   ทําหน้าที่บังคับให้ลูกนัยน์ตามองไปทางซ้าย-ขวา   หรือมองขึ้น -ลง  ก็ได้
3.  เยื่อหุ้มตา  (CONJUNCTIVA)  เป็นเยื่อบุสีชมพูอ่อน ๆ อยู่ที่ใต้หนังตาบนและหนังตาล่าง
4.  หนังตา  (EYELID)  ประกอบด้วยหนังตาบนและหนังตาล่าง   ทําหน้าที่ป้องกันลูกนัยน์ตา
หู  (EAR) เป็นอวัยวะที่ใช้ในการรับความรู้สึกโดยการได้ยินแบ่งออกได้เป็น 3ชิ้น คือ
1.  หูชั้นนอก   ประกอบด้วย  ใบหู  รูหู  และแก้วหู
-ใบหู  (EAR  PINNA)  ลักษณะเป็นแผ่นบาง ๆ ภายในเป็นกระดูกอ่อน   ทําหน้าที่ในการ
รับคลื่นเสียงจากภายนอก
-รูหู  (EAR    CANAL)   ลักษณะเป็นช่องต่อจากใบหูเข้าไปภายใน  เป็นทางผ่านของคลื่น
เสียงที่ได้รับ
-แก้วหู  (TYMPANIC  MEMBRANE)  ลักษณะเป็นเยื่อขาว ๆ ปิดกั้นที่บริเวณส่วนปลายของรู
หู    ทําหน้าที่รับคลื่นเสียงที่เข้ามาทําให้แก้วหูลั่น     แล้วส่งสัญญาณเสียงต่อเข้าไปที่หูชั้นกลาง
2.  หูชั้นกลางเป็นส่วนที่ต่อมาจากหูชั้นนอก   โดยมีแก้วหูเป็นตัวกั้น ประกอบด้วยกระดูกเล็ก ๆ 3
ชิ้น  คือ
-กระดูกฆ้อน (MALLEUS)    เป็นกระดูกรูปคล้ายฆ้อนอยู่ติดกับแก้วหู  มีหน้าที่รับ
สัญญาณเสียงจากการสั่นของแก้วหู
-กระดูกทั่ง (INCUS)    เป็นกระดูกที่อยู่ต่อจากกระดูกฆ้อนเข้าไป   มีหน้าที่รับ
สัญญาณเสียงจากกระดูกฆ้อน
-กระดูกโกลน (STAPES)    เป็นกระดูกชิ้นที่อยู่ต่อจากกระดูกทั่ง   มีหน้าที่รับ
สัญญาณเสียงจากกระดูกทั่ง    แล้วส่งต่อไปยังหูชั้นใน
3.  หูชั้นใน   เป็นส่วนที่ต่อมาจากหูชั้นกลาง  ประกอบด้วยอวัยวะ 2ชนิด  คือ
-อวัยวะสําหรับรับสัญญาณเสียง (COCHLEA)    ลักษณะเป็นรูปหอยโข่ง  ภายในมี
ของเหลวเมื่อสัญญาณเสียงที่ส่งมาจากการสั่นของกระดูกโกลน   จะทําให้ของเหลวในอวัยวะนี้เกิดการ
สั่นสะเทือนตาม   ซึ่งจะกลายเป็นสัญญาณเข้าสู่เส้นประสาทที่เกี่ยวกับการได้ยินซึ่งอยู่ติดกับอวัยวะนี้   แล้วจึงส่งต่อไปยังสมองทําให้ทราบว่าเสียงที่ได้ยินนั้นเป็นเสียงของอะไร
-อวัยวะสําหรับการทรงตัวของร่างกาย (SEMICIRCULAR    CANAL)     ลักษณะเป็นท่อวง
แหวนรวม 3วง  ทําหน้าที่ในการรักษาความสมดุลย์ของร่างกาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น