วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2552

บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาของสัตว์

บทที่ 1
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาของสัตว์

ความสำคัญในการศึกษา

กายวิภาค (Anatomy) หมายถึง วิชาที่เกี่ยวกับรูปร่างและโครงสร้างของสิ่งมีชีวิตทั้งหมด
วิชากายวิภาคศาสตร์เป็นสาขาที่เก่าแก่สาขาหนึ่งของชีววิทยา ซึ่งกล่าวถึงรูปร่างและโครงสร้าง(Form and structure)ของสิ่งที่มีชีวิต รวมทั้งพืชและสัตว์ ซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับวิชาสรีระวิทยา
คำว่า Anatomy แยกออกได้เป็น Ana =Apart แปลว่า เป็นชิ้นหรือเป็นส่วนๆ ส่วน Tomy หรือTome=Cutting แปลว่า ตัด ดังนั้น Anatomy เมื่อรวมกันแล้ว จึงหมายถึง การตัดหรือชำแหละออกเป็นส่วนๆ ซึ่งในการเรียน Gross Anatomy ใช้การชำแหละ (Dissection) ด้วยตาเปล่าเป็นหลัก

ประวัติ
วิชากายวิภาคศาสตร์ได้มีการศึกษากันมาช้านานแล้ว คือเริ่มตั้งแต่400ปีก่อนคริสตกาล มีนักปรัชญาชาว กรีกชื่อ Aristotle (384-322B.C.) ได้พิมพ์ผลงานทางกายวิภาคศาสตร์ของปลาและสัตว์ขึ้น จากผลงานอันนี้เอง ทำให้เขาได้ชื่อว่าเป็น บิดาแห่งวิชากายวิภาคศาสตร์ (Father of Anatomy)ต่อมาได้มีนักกายวิภาคศาสตร์ได้ทำการศึกษา และค้นคว้าเกี่ยวกับวิชากายวิภาคศาสตร์ขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก เช่น Claudius Galen ,Andreas Vesalius เป็นต้น Claudius Galenเป็นนักฟิสิกส์ชาวกรีก-โรมัน อยู่ที่กรุงโรมอิตาลี มีชีวิตอยู่ระหว่างศตวรรษที่ 2 ส่วน Andreas Vesalius ซึ่งเป็นนักกายวิภาคศาสตร์ชาวเบลเยี่ยม มีชีวิตอยู่ในศตวรรษที่ 16 เขาได้ศึกษาค้นคว้าจนทำให้วิชากายวิภาคศาสตร์มีความก้าวหน้าอย่างกว้างขวาง ตลอดจนถึงการชำแหละ (Dissection) จนได้ชื่อว่าเป็น บิดาแห่งวิชากายวิภาคศาสตร์สมัยใหม่ (Father of modern anatomy) นอกจากนี้ก็ยังมี Septimus Sisson (1865-1924 )

วัตถุประสงค์
จุดประสงค์ของการเรียนวิชากายวิภาคศาสตร์ ในสมัยนี้ถือว่าวิชากายวิภาคศาสตร์เป็นวิชาพื้นฐานที่สำคัญที่สุดของการเรียนวิชาแพทย์ และเนื่องจากนักกายวิภาคศาสตร์หรือนักชีววิทยารุ่นแรกๆ เป็นชนชาติกรีก ดังนั้นภาษาลาตินจึงเป็นรากศัพท์ทางวิชากายวิภาคศาสตร์ ซึ่งในปัจจุบันก็ยังคงใช้อยู่
การเรียนวิชากายวิภาคศาสตร์มีจุดประสงค์เพื่อ
1.เป็นพื้นฐานของวิชาศัลยศาสตร์และวิชาอายุรศาสตร์
2.เป็นพื้นฐานของวิชาสรีระวิทยา
3.เป็นพื้นฐานของวิชาสูติศาสตร์ และวิชาโรคทางระบบอวัยวะสืบพันธุ์
4.เป็นพื้นฐานของวิชาพยาธิวิทยา
5.เป็นพื้นฐานของวิชาตรวจเนื้อและการตัดเนื้อ
6.พวกสถาปนิค ช่างปั้น ช่างเขียน จำเป็นต้องเรียนหรือต้องทราบเกี่ยวกับลักษณะทางกายวิภาคของคน สัตว์ และต้นไม้ เพื่อนำไปปั้นหรือวาดรูป ให้ถูกต้องตามลักษณะทางกายวิภาคศาสตร์ต่อไป
การจำแนกวิชากายวิภาคศาสตร์(Division of Anatomy) วิชากายวิภาคศาสตร์แบ่งออกได้เป็น
1.Microscopic AnatomyหรือHistology หมายถึง การศึกษาโครงสร้างของสัตว์และพืช เป็นรายละเอียดขนาดเล็กๆ โดยใช้กล้องจุลทัศน์(Microscope)
2.Macroscopic AnatomyหรือGross anatomy หมายถึงการศึกษาโครงสร้างของสัตว์ด้วยตาเปล่า โดยใช้เครื่องมือชำแหละช่วย
3. Embryological หรือ Developmental Anatomyหมายถึงการศึกษา การเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตตั้งแต่เริ่มการปฏิสนธิ(Fertilized egg) จนถึงตอนเกิด (Birth)
4.Ultrastructural Anatomy หมายถึงการศึกษาโครงสร้างต่างๆของสัตว์และพืชให้ละเอียดเล็กลงไปอีก ซึ่งกล้องจุลทัศน์ธรรมดาไม่สามารถจะมองเห็นได้ ต้องใช้กล้องจุลทัศน์อีเล็กตรอน (Electron microscope)จึงจะจะสามารถมองเห็นและศึกษารายละเอียดได้
5. Applied Anatomy (กายวิภาคศาสตร์ประยุกต์) หมายถึงการเรียนวิชากายวิภาคศาสตร์ เพื่อนำเอาไปใช้เกี่ยวกับการวินิจฉัยและการรักษาโรค ทางพยาธิวิทยา และทางศัลยศาสตร์
6.Topographic Anatomy หมายถึงการศึกษาวิชากายวิภาคศาสตร์โดยศึกษาส่วนหนึ่งของร่างกายสัตว์ที่มีความสัมพันธ์กับอีกส่วนหนึ่ง
7. Comparative Anatomy หมายถึงการศึกษาเปรียบเทียบโครงสร้างส่วนต่างๆของร่างกายสัตว์แต่ละชนิด
8.Radiographic Anatomy หมายถึงการศึกษากายวิภาคศาสตร์ โดยอาศัย X-ray ช่วย เพื่อให้ทราบตำแหน่ง ที่อยู่ปกติของอวัยวะนั้นๆซึ่งมีความสำคัญมาก
9. Special Anatomy หมายถึงการศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างของอย่างเดียวกัน หรือชนิดเดียวกัน เช่นการศึกษากายวิภาคศาสตร์ของคน (Anthropotomy), การศึกษากายวิภาคศาสตร์ของม้า(Hippotomy)เป็นต้น
สรีระวิทยา (Physiology) เป็นวิชาที่ว่าด้วยหน้าที่ของร่างกายสิ่งมีชีวิต และส่วนประกอบของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ ด้วยการศึกษากายวิภาคและสรีระวิทยา จะต้องอาศัยห้องปฏิบัติการเป็นส่วนใหญ่ สำหรับการศึกษาวิชากายวิภาควิทยาในห้องปฏิบัติการ มักใช้วิธี ชำแหละเอาแต่ส่วนของสิ่งมีชีวิต ที่ตายแล้วมาดองไว้ เพื่อไม่ให้เน่า จะได้ใช้ดูร่างกายและลักษณะ ที่อยู่ และส่วนเชื่อมโยงที่อาจเห็นได้ชัด ส่วนวิชาสรีระวิทยานั้นจะต้องทำการทดลองซ้ำแล้วซ้ำอีกกับสิ่งมีชีวิต ทั้งนี้เพื่อให้เข้าใจหน้าที่ ตามปกติของร่างกาย และผลการเปลี่ยนแปลงต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งภายในและภายนอก ต่อการใช้ยา การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ และการใช้กระแสไฟฟ้า
ความสำคัญในการศึกษา
กายวิภาคศาสตร์ทางสัตวแพทย์(Veterinary Anatomy) เป็นสาขาหนึ่งของวิชากายวิภาคศาสตร์ซึ่งกล่าวถึงรูปร่างและโครงสร้างของสัตว์เลี้ยง มีความสำคัญอย่างมากในการนำไปใช้รักษาโรคสัตว์ต่อไป
ในการเรียนหรือการศึกษาวิชากายวิภาคศาสตร์และสรีระวิทยานี้ จะกล่าวถึงส่วนต่างๆและการทำงานของอวัยวะในร่างกาย โดยจัดแบ่งเป็นระบบต่างๆดังต่อไปนี้ คือ
1.Osteologyศึกษาเกี่ยวกับโครงกระดูก(Skeleton)รวมทั้งกระดูก(Bone)และกระดูกอ่อน(Cartilage)ด้วย ซึ่งมีหน้าที่พยุงหรือค้ำจุน และป้องกันอวัยวะส่วนอ่อนๆของร่างกายสัตว์
2Myologyศึกษาเกี่ยวกับกล้ามเนื้อและส่วนประกอบที่สำคัญของกล้ามเนื้อซึ่งหน้าที่ของมันฏ้ช่วยทำให้กระดูกและข้อต่อเคลื่อนไหวได้เต็มที่
3.Splanchnology ศึกษาเกี่ยวกับอวัยวะภายในทั้งหมดรวมทั้งอวัยวะย่อยอาหาร(Digestive system),อวัยวะหายใจ(Respiratory system),อวัยวะสืบพันธุ์(Reproductive system)และอวัยวะขับปัสสาวะ(Urinary system)เป็นต้น
4. Angiology ศึกษาเกี่ยวกับอวัยวะของการไหลเวียนโลหิต รวมทั้งหัวใจ เส้นเลือดแดง เส้นเลือดดำ เส้นน้ำเหลืองและม้าม
5.Neurologyเป็นการศึกษาเกี่ยวกับระบบประสาท ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมและร่วมมือกับอวัยวะหรือโครงสร้างอื่นๆให้ดำเนินไปด้วยดี

1 ความคิดเห็น: