วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2552

บทที่ 2 ระบบกล้ามเนื้อ

บทที่ 2

ระบบกล้ามเนื้อ
สัตว์จำเป็นต้องมีการเคลื่อนไหวตัวเอง และมีท่าทางในลักษณะต่างๆ เพื่อหาอาหารและหนีภัย รวมทั้งเพื่อการดำรงอยู่ของชีวิต โดยใช้กล้ามเนื้อเป็นอวัยวะประกอบในการเคลื่อนไหวและช่วยเคลื่อนไหวร่างกาย ทำงานร่วมกับกระดูก ซึ่งเคลื่อนไหวตรงบริเวณรอยต่อหรือข้อต่อของกระดูกแต่ละท่อน กล้ามเนื้อเป็นอวัยวะหรือเนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่โดยเฉพาะ โดยใช้พลังงานที่ได้จากการเปลี่ยนพลังงานทางเคมี(Chemical energy) ไปใช้ทำงานของกล้ามเนื้อ(Mechanical work) หน้าที่ของกล้ามเนื้อส่วนใหญ่เป็นอวัยวะที่ตอบสนองหรือคอยปรับตัวเองของร่างกาย เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม เพื่อรักษาท่าทางหรือต้านต่อแรงดึงดูดของโลกซึ่งถือว่าเป็นหน้าที่ที่สำคัญ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เกี่ยวกับการมีชีวิตอยู่ของร่างกาย เช่นการหดตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ (Contraction of the heart), การหดตัวของเส้นโลหิต( contraction of blood vessels),การหายใจ(Breathing)และการเคลื่อนไหวของลำไส้(Peristalsis of the intestine)ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวนี้ ขึ้นอยู่กับการทำงานของกล้ามเนื้อทั้งสิ้น (Activity of the muscles)

ชนิดของกล้ามเนื้อ
กล้ามเนื้อของร่างกายแบ่งออกอย่างกว้างๆเป็น 3 ชนิดโดยถือเอาความแตกต่างในลักษณะทางโครงสร้างละเอียดขนาดเล็ก(Histology) ,ตำแหน่งทางกายวิภาค (Anatomy) และหน้าที่(Physiology)ตลอดจนการมีเส้นประสาทมาควบคุม(Neurology)

1.กล้ามเนื้อเรียบ(Smooth muscleหรือ Visceral,Unstriated หรือInvoluntary muscle) ลักษณะกล้ามเนื้อไม่มีลายตามแนวขวาง มีนิวเคลียส(Nucleus)อันเดียวในเซลหนึ่งและอยู่ตรงกลางเซล กล้ามเนื้อชนิดนี้พบได้ที่ผนังลำไส้( Wall of intestine หรือ Visceral organs) โดยเฉพาะในระบบขับปัสสาวะและระบบสืบพันธุ์(Urogenital system),ระบบย่อยอาหาร(Digestive system),ระบบหายใจ(Respiratory system),ระบบเส้นเลือด(Vascular system)และตา(Eyes)ซึ่งได้รับประสาทพวกระบบประสาทอัตโนมัติ(Autonomic nervous system)มาควบคุมและทำงานเองได้
2.กล้ามเนื้อหัวใจ(Cardiac muscle) เป็นกล้ามเนื้อประเภทนอกเหนืออำนาจจิตใจ(Involuntary muscle)เช่นเดียวกับกล้ามเนื้อเรียบ มีเส้นประสาทพวกระบบประสาทอัตโนมัติ(Autonomic nervous system) มาควบคุมเซลมีนิวเคลียส(Nucleus)อันเดียว ทำงานได้เองโดยอัตโนมัติ แต่ละเซลของกล้ามเนื้อนี้จะแยกกันโดย Intercalated discs
3.กล้ามเนื้อลาย(Skeletal muscleหรือ Voluntary striated muscle หรือSomatic muscle) เซลของกล้ามเนื้อชนิดนี้มีนิวเคลียส(Nucleus)หลายอัน มีลายกล้ามเนื้อตามขวาง(Cross striation) เป็นกล้ามเนื้อที่เกาะกับกระดูก โดยการเกาะระหว่างกระดูกท่อนหนึ่งกับกระดูกอีกท่อนหนึ่ง ทำให้เกิดจุดเกาะ(Origin)และจุดยึด(Insertion)ขึ้น ทำให้ร่างกายสามารถเคลื่อนไหวได้ โดยได้รับประสาทประเภทโซมาติก (Somatic nerves) มาควบคุม
ลักษณะโครงสร้างของกล้ามเนื้อลาย(Structural properties of Skeletal muscles)
เอ็น(Tendons) กล้ามเนื้อลายก่อนจะไปยึดกับกระดูก จะต้องมีเอ็น มายึดเกาะกับกระดูกเสียก่อนแล้วกล้ามเนื้อจึงจะมายึดกับเอ็นอีกครั้งหนึ่ง เอ็นนี้ประกอบด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน(Connective tissue) ที่เหนียว แน่น และเ)นชนิดที่ไม่ยืดและหดตัวได้(Inelastic)
คาน(Lever)เนื่องจาก การจับกันของกล้ามเนื้อระหว่างกระดูกสองท่อนที่ต่อกัน เมื่อกล้ามเนื้อลายหดตัวจะเกิดการเคลื่อนไหวของกระดูกท่อนหนึ่งท่อนใดหรือทั้งสองท่อน ซึ่งมักเรียกจุดที่กล้ามเนื้อ หรือเอ็น ที่มายึดเกาะกับกระดูกที่เคลื่อนไหวได้น้อยว่า จุดเกาะ(Origin)และเรียกจุดที่กล้ามเนื้อหรือเอ็นมายึดกับกระดูกที่เคลื่อนไหวได้มากว่าจุดยึด(Insertion)เช่นกล้ามเนื้อ Bicepsซึ่งจุดเกาะอยู่ที่กระดูกไหล่(Scapular)จุดยึดอยู่ที่กระดูกRadiusเป็นต้นซึ่งกระดูกซี่โครงก็ทำหน้าที่เหมือนกับคานของกล้ามเนื้อเช่นกัน
กล้ามเนื้อ(Muscles) กล้ามเนื้อลายประกอบขึ้นจากเซลกล้ามเนื้อหรือใยกล้ามเนื้อ( Muscle fiber) ที่มีลักษณะเป็นMyofibrilมากมาย เรียงตัวแน่นตามยาวของเซล(Elongated cylindrical cells) เซลกล้ามเนื้อหรือใยกล้ามเนื้อ(Muscle fiber)จะรวมกันเป็นมัดกล้ามเนื้อเล็ก(Bundlesหรือ Fasiculi)ล้อมรอบด้วยแผ่นเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน(Connective tissue sheathsหรือPerimysium) และมัดกล้ามเนื้อเล็กๆจะรวมกันเป็นมัดกล้ามเนื้อใหญ่ โดยมีแผ่นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันมาหุ้ม (Epimysium)อีกชั้นหนึ่ง
ในสภาพปกติกล้ามเนื้อลายนี้จะมีเส้นประสาท(Motor nerve)มาควบคุม ใยกล้ามเนื้อจะถูกกระแสประสาท( Nerve impulse)มากระตุ้นที่ ปลายประสาท(Motor end plate)โดยผ่าน Acetylcholineสู่ใยกล้ามเนื้อทำให้กล้ามเนื้อมีการหดตัว และมีสารอีกอย่างหนึ่งคือ Cholinesteraseซึ่งเป็น เอ็นไซม์ไปทำลายAcethylcholineอีกทีหนึ่ง ทำให้ใยกล้ามเนื้อคลายตัว ทำให้กล้ามเนื้อทำงานได้ปกติ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น