ระบบไหลเวียนโลหิต
อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการหมุนเวียนโลหิตและน้ำเหลือง ได้แก่ หัวใจ เส้นเลือด และเส้นน้ำเหลือง ระบบการไหลเวียนโลหิตจึงแบ่งออกเป็น ระบบหมุนเวียนของเลือด(Blood vascular system) และ ระบบน้ำเหลือง (Lymphatic system)
1. ระบบหมุนเวียนของเลือด(Blood vascular system) ระบบนี้มีหัวใจเป็นศูนย์กลางในการสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงร่างกาย เลือดออกจากหัวใจ ผ่านทางเส้นเลือดแดง(Arteries) ไปสู่ส่วนต่างๆของร่างกาย ซึ่งเส้นเลือดแดงนี้ จะแตกแขนงออกเป็นเส้นโลหิตฝอย(Capillaries) เข้าไปเลี้ยงภายในเนื้อเยื่อ ที่ซึ่งมีการแลกเปลี่ยนอาหาร ออกซิเจน และของเสียเช่นคาร์บอนไดออกไซด์ หลังจากนี้เลือดจะถูกดูดกลับสู่หัวใจผ่านทางเส้นเลือดดำ (Veins)
2.ระบบน้ำเหลือง (Lymphatic system)ระบบน้ำเหลืองนี้ ถือเป็นระบบสาขา หรือเป็นส่วนแยกของส่วนเส้นเลือดดำ (Venous part) ของระบบหมุนเวียนเลือด ซึ่งประกอบด้วยเส้นน้ำเหลืองและต่อมน้ำเหลือง
ระบบหมุนเวียนของเลือด(Blood vascular system) ในระบบหมุนเวียนเลือด แบ่งย่อยออกได้คือระบบหมุนเวียนเลือดในปอด (Pulmonary circulation) และ ระบบหมุนเวียนเลือดในร่างกาย (Systemic circulation)
1.ระบบหมุนเวียนเลือดในปอด(Pulmonary circulation)นับจากเลือดออกจากหัวใจห้องล่างขวา (Right ventricle)ผ่านทางเส้นเลือด(Pulmonary trunk)แยกไปยังปอดทั้ง 2 ข้าง ผ่านเส้นโลหิตฝอย (Capillaries)และรวบรวมกลับสู่ เส้นเลือด Pulmonary vein มายัง หัวใจห้องบนซ้าย (Left atrium)ซึ่งเลือดที่ผ่านการฟอกที่ปอดแล้วนี้ จะถูกส่งไปเลี้ยงทั่วร่างกายทางระบบหมุนเวียนเลือดในร่างกาย (Systemic circulation)ต่อไป
2.ระบบหมุนเวียนเลือดในร่างกาย (Systemic circulation)เลือดถูกขับออกจากหัวใจห้องล่างซ้าย (Left ventricle)ผ่านทางเส้นเลือด Aorta และแยกกันไปเลี้ยงทุกส่วนของร่างกาย แล้วส่งกลับคืนหัวใจห้องบนขวา (Right atrium)ผ่านทางเส้นเลือด Venacava ส่วนคำว่า Portal system นี้ใช้กับส่วนหนึ่งของระบบหมุนเวียน คือ Portal veinและแขนงย่อยของมันที่รับเลือดมาจากกระเพาะอาหาร ลำไส้ ตับอ่อน (Pancreas)และม้าม(Spleen) Portal veinจะผ่านเข้าตับและแตกแขนงอีกครั้งภายในตับ แล้วจึงรวมกันเป็น Hepatic veinเปิดเข้าสู่Posterior venacava แล้วจึงถึงหัวใจ
ท่อทางเดินโลหิต (Blood vessels) ท่อทางเดินโลหิตที่พบในร่างกายมีหลายอย่างและหลายขนาดดังนี้
1. เส้นเลือดแดง (Artery)
เป็นเส้นเลือดที่นำเลือดออกจากหัวใจ แขนงที่แยกออกไปมักจะทำมุมแหลมกับเส้นเลือดใหญ่เดิม และเส้นจะเล็กลงๆ ผนังของเส้นเลือดแดงประกอบด้วย 3 ชั้น
1.ชั้นนอก เป็นเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่เหนียว(Fibrous connective tissue)และยืดหยุ่น(Elastic fiber)
2.ชั้นกลางประกอบด้วยเนื้อเยื่อยืดหยุ่น( Elastic fiber)และกล้ามเนื้อเรียบ ในเส้นเลือดขนาดกลาง ส่วนเส้นเลือดขนาดเล็กๆจะมีแต่กล้ามเนื้อเรียบเป็นส่วนใหญ่
3.ชั้นใน เป็นชั้นของเซลบุผนังด้านใน(Endothelial cells)
2. เส้นเลือดดำ (Veins)
เป็นเส้นเลือดที่นำเลือดเข้าสู่หัวใจ โดยทั่วๆไป มักอยู่คู่ไปกับเส้นเลือดแดง และมีขนาดโตกว่า แต่ผนังบางกว่า โครงสร้างของเส้นเลือดดำคล้ายกับของเส้นเลือดแดง เพียงแต่บางกว่าทำให้แฟบได้เมื่อเวลาไม่มีเลือดอยู่ ผนังชั้นกลางจะบางมาก และมี Fibrous tissue ธรรมดามากกว่า ส่วนชั้นในมี Elastic fiber น้อยกว่า และมีส่วนของลิ้นเรียกว่า Semilunar valvesโดยที่ขอบของลิ้นเส้นเลือดจะชี้มาทางหัวใจ ทำหน้าที่กั้นไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับทางเดิม ลิ้นเส้นเลือดนี้พบได้มากที่เส้นเลือดดำของผิวหนังที่แขน ขา ยกเว้นที่เท้า และเส้นเลือดดำส่วนใหญ่ของอวัยวะภายใน ไม่มีลิ้นมากนักคือจะพบตรวที่เส้นเลือดนั้นเปิดเข้าสู่เส้นเลือดที่ใหญ่กว่า หรือพบที่เส้นเลือด 2 เส้นมาบรรจบกัน
ผนังของเส้นเลือดจะมีเส้นเลือดเล็กๆมาเลี้ยง เรียกว่า Vasa vasarum ซึ่งจะแทรกเข้าถึงชั้นกลางของเส้นเลือด ส่วนเส้นประสาทจะมาก่อรูปเป็นปมประสาท(Plexuses)รอบๆเส้นเลือดและมีเส้นใยประสาทเข้าไปถึงกล้ามเนื้อชั้นกลางเป็น Vasomotor nerves
3.เส้นเลือดฝอย(Capillaries) เป็นท่อทางเดินโลหิตที่มีขนาดเล็กที่สุด กระจายอยู่ในเนื้อเยื่อ มีทั้งหลอดโลหิตดำและแดง เป็นที่แลกเปลี่ยนสารอาหาร อากาศ ระหว่างโลหิตกับเนื้อเยื่อ
4.ท่อน้ำเหลือง (Lymph vessels) ท่อน้ำเลืองมีส่วนประกอบเหมือนเส้นเลือดดำ แต่มีลิ้นมากมายกว่า มีผลให้น้ำเหลืองไหลไปทางเดียว เมื่อน้ำเหลืองไหลผ่านท่อ จะมองเห็นจากภายนอกเป็นเม็ดๆอยู่เรียงกันไป ทั้งนี้ผนังท่อน้ำเหลืองตอนที่ไม่มีลิ้นกั้น จะป่องออกมาเนื่องจากปริมาณของน้ำเหลืองที่อยู่ภายใน การแตกแขนงของน้ำเหลืองเป็นไปโดยจำกัด ไม่เหมือนหลอดโลหิตซึ่งแตกแขนงกระจัดกระจายเข้าไปตามเนื้อเยื่อทั่วไป ตลอดทางของท่อน้ำเหลืองจะมีต่อมน้ำเหลือง(Lymph node)อยู่ขนาบข้างเป็นระยะๆไป ทำหน้าที่กรองน้ำเหลืองและเชื้อโรคที่มากับน้ำเหลืองที่ผ่านมา
ต่อมน้ำเหลือง (Lymph node) เป็นที่ผลิตเม็ดโลหิตขาว และเป็นที่กักเก็บวัตถุแปลกปลอมที่เข้าสู่กระแสน้ำเหลือง นอกจากนี้ยังเป็นที่ป้องกันอันตรายให้แก่ร่างกายอีกด้วย
โลหิต(Blood) ประกอบด้วยน้ำและของแข็ง ส่วนที่เป็นน้ำเรียกว่า น้ำโลหิต (Plasma) ส่วนที่เป็นของแข็งเรียกว่าเม็ดโลหิต (Corpuscles) ซึ่งลอยตัวกระจายอยู่ในน้ำโลหิต
โลหิตมีหน้าที่ ดังนี้คือ
1.นำอาหารที่ย่อยแล้วจากระบบย่อยอาหารไปสู่เนื้อเยื่อของร่างกาย
2.นำออกซิเจนจากปอดไปส๔เนื้อเยื่อ
3.นำคาร์บอนไดอ๊อกไซด์จากเนื้อเยื่อไปสู่ปอด
4.นำของเสียจากเนื้อเยื่อไปสู่ไต เพื่อให้ไตขับออก
5.นำฮอร์ดมนที่ต่อมไร้ท่อผลิตออกมา ไปสู่อวัยวะต่างๆของร่างกาย
6.ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย โดยนำความร้อนจากอวัยวะชั้นลึกขึ้นมาสู่ผิวของร่างกาย
7.รักษาระดับน้ำของร่างกาย
8.รักษาความเป็นกรด-ด่างของเนื้อเยื่อ และของเหลวอื่นๆของร่างกาย
9.สามารถแข็งตัวได้เมื่อเกิดบาดแผลฉีกขาด เป็นการป้องกันมิให้เสียโลหิตมาก
10.มีภูมิต้านทานโรค (Antibodies)
เม็ดโลหิต (Blood corpuscles)
1.เม็ดโลหิตแดงเป็นแผ่นกลมค่อนข้างบาง เว้าเข้าทั้ง 2 ข้าง ขอบกลมหนา ตรงกลางบางไม่มีนิวเคลียส ไขกระดูกสีแดงเป็นผู้ผลิตเม็ดโลหิตแดง ภายในเม็ดโลหิตแดงมีสารประกอบโปรตีนชนิดหนึ่ง มีธาตุเหล็กเกาะอยู่ สารชนิดนี้เรียกว่า เฮโมโกลบิน (Hemoglobin) เป็นสารที่ทำให้เม็ดโลหิตมีสีแดง สารนี้ทำหน้าที่ขนอ๊อกซิเจนจากปอด ไปสู่เนื้อเยื่อ และรับคาร์บอนไดออกไซด์จากเนื้อเยื่อมาสุ่ปอดเพื่อให้ปอดทำหน้าที่ในการขจัดออกจากร่างกาย
2.เม็ดโลหิตขาว จะทำหน้าที่ป้องกันและต่อต้านจุลินทรีย์ต่างๆ ที่ทำให้เกิดโรคขึ้นแก่ร่างกาย เม็ดโลหิตขาวแบ่งออกเป็นพวกใหญ่ๆได้ 2 พวก คือ
2.1พวกที่มีเม็ดเล็กๆอยู่ในเวล (Granulocytes)
2.1.1นิวโทรฟิล(Neutrophil) เม็ดโลหิตขาวชนิดนี้ ทำหน้าที่ทำลายเชื้อแบคทีเรีย โดยเฉพาะพวกเชื้อหนองที่เข้าสู่ร่างกาย
2.1.2อีโอซิโนฟิล(Eosinophil) เม็ดเล็กๆในเซลติดสีแดง เซลล์ชนิดนี้มีน้อยมาก จะเพิ่มจำนวนมากขึ้นในสัตว์ที่มีพยาธิ
2.1.3เบโซฟิล(Basophil) เม็ดเล็กๆในเซลล์ติดสีน้ำเงิน มีจำนวนน้อยมากเหมือนกัน หน้าที่ยังไม่ทราบแน่ชัด
2.2พวกที่ไม่มีเม็ดเล็กๆอยู่ในเซลล์(Agranulocytes)
2.2.1โมโนไซท์(Monocytes) ทำหน้าที่กลืนกินแบคทีเรียและสิ่งแปลกปลอม รวมทั้งเม็ดโลหิตที่แก่แล้วด้วย
2.2.2ลิมโฟไซท์(Lymphocytes)มีหน้าที่สร้างภูมิคุ้มกันโรคให้แก่ร่างกาย
3.เกร็ดโลหิต(Blood platelets) เกร็ดโลหิตทำหน้าที่ช่วยให้โลหิตแข็งตัวที่ปากบาดแผล
น้ำโลหิต(Plasma) น้ำโลหิตเป็นส่วนของเหลวของโลหิต มีน้ำเป็นส่วนประกอบถึง 90เปอร์เซ็นต์ สารประกอบอินทรีย์ 9เปอร์เซ็นต์ เกลือ 1 เปอร์เซ็นต์ ในจำนวนของแข็งที่เป็นส่วนประกอบของน้ำโลหิตนี้ 4ใน 5 เป็น Fibrinogen , Nucleoprotein , Albumin , Globulin
ซีรั่ม (Serum) เกิดขึ้นเมื่อโลหิตแข็งตัว แล้วหดตัว ทำให้ซีรั่มซึมออกมา แตกต่างจากน้ำโลหิต (Plasma) ตรงที่ไม่มี ไฟบริน(Fibrin)
หัวใจ
หัวใจเป็นกล้ามเนื้อกลวง รูปดอกบัวตูม อยู่ในช่องอก เคลื่อนไหวเป็นอิสระอยู่ภายในเยื่อหุ้มหัวใจ(Pericardium)เป็นอวัยวะที่เป็นศูนย์กลางของระบบหมุนเวียนโลหิต ทำหน้าที่ในการสูบฉีดโลหิต ภายในหัวใจถูกกั้นโดยผนัง (Septum) และลิ้น (Valves) ทำให้แบ่งออกเป็น 4 ห้อง แบ่งเป็นวีกซ้าย และซีกขวาโดยมีผนังกล้ามเนื้อกั้น แต่ละซีกของหัวใจมีลิ้นหัวใจกั้นกลาง ทำให้เกิดเป็นห้องบนและห้องล่าง ห้องบนขวามีหน้าที่รับโลหิตจากท่อทางเดินโลหิตดำ ห้องล่างขวามีหน้าที่รับโลหิตที่ไหลลงมาจากห้องบนขวาและฉีดโลหิตออกไปเข้าสู่ปอด หลังจากโลหิตดำได้รับการฟอกเลือดที่ถุงลมฝอยของปอดเป็นโลหิตแดงแล้วจะกลับสู่หัวใจห้องบนซ้าย แล้วไหลลงห้องล่างซ้ายสูบฉีดออกไปตามท่อทางเดินโลหิตไปสู่อวัยวะต่างๆทั่วร่างกาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น